เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว เพราะกำจัดกายกสาวะ
วจีกสาวะ และมโนกสาวะ ทั้ง 3 อย่างนั้น และโมหะเสียแล้ว. ในบรรดากสาวะ
นอกนี้ ความที่บุคคลกำจัดราคกสาวะได้แล้ว ก็เป็นอันกำจัดโทสกสาวะได้ด้วย
เพราะไม่ลบหลู่สำเร็จแล้ว ด้วยความเป็นผู้ไม่โลภเป็นต้นนั่นเทียว.
บทว่า นิราสโย คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า สพฺพโลเก ได้แก่
ในโลกทั้งสิ้น. อธิบายว่า ในภพทั้ง 3 หรือในอายตนะ 1 2 คืองดเว้นภวตัณหา
และวิภวตัณหาแล้ว. บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่าง
หนึ่ง นักศึกษาครั้นกล่าวบาททั้ง 3 แล้ว พึงทำการเชื่อมในบาทนี้ แม้อย่างนี้
ว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว หรือ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเพื่อเที่ยวไปผู้เดียว ดังนี้.
นิลโลลุปคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 23


คาถาว่า ปาปํ สหายํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในกรุงพาราณสี ทรงกระทำ
ประทักษิณพระนครอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งพระราชาอันยิ่งใหญ่ ทรงเห็นมนุษย์
ทั้งหลายขนข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นออกจากยุ้งฉางไว้ในภายนอก จึงตรัสถาม
อำมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย นี้อะไร ? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราช บัดนี้ ข้าวเปลือกใหม่จักเกิดขึ้น มนุษย์เหล่านี้ จึงทิ้งข้าวเปลือก
เก่า เพื่อทำที่ว่างสำหรับข้าวเปลือกใหม่เหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า ดูก่อน
พนาย วัตถุสำหรับนางสนมและพลกายเป็นต้น บริบูรณ์แล้วหรือ ?
อ. อย่างนั้น พระมหาราช บริบูรณ์แล้ว.

ร. ดูก่อนพนาย ถ้าอย่างนั้น จงให้สร้างโรงทาน เราจักให้ทาน
อย่าให้ข้าวเปลือกเหล่านี้ เสียไปเปล่า ๆ.
ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง ทูลว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
พวกพาลและพวกบัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้
แล้ว ทูลห้ามพระราชานั้น. แม้ครั้งที่ 2 แม้ครั้งที่ 3 ท้าวเธอก็ทรงเห็น
คนทั้งหลายยื้อแย่งยุ้งฉาง จึงตรัสสั่งอย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ 3 อำมาตย์
เจ้าทิฏฐินั้น ก็ทูลห้ามพระราชาพระองค์นั้นว่า ข้าแต่มหาราช ทานนี้ คนโง่
บัญญัติไว้ ดังนี้เป็นต้น.
พระองค์ทรงเบื่อหน่ายว่า เราไม่ได้เพื่อให้แม้ของตนเอง เราจะมี
ประโยชน์อะไรกับสหายผู้ลามกเหล่านี้ ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว
ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และทรงติเตียนสหาย
ผู้ลามกนั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า
ปาปํ สหายํ ปรวชฺชเยถ
อนตฺถทสฺสึ วิสเม นิวิฏฺฐํ
สยํ น เสเว ปสุตํ ปมตฺตํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึง
เสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้บอกความฉิบหาย
มิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ
ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.

คาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ สหายนี้ใด ชื่อว่า ลามก เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ 10 อย่าง ชื่อว่า อนัตถทัสสี เพราะอรรถว่าชี้บอก
ความฉิบหาย แม้แก่คนเหล่าอื่น และตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริต
เป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงเว้นสหายผู้ลามกนั้น ไม่พึงเสพด้วยตนเอง
ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหาย ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ อธิบายว่า ไม่พึง
คบ ด้วยอำนาจของตนด้วยประการนี้ ก็ถ้าตกอยู่ในอำนาจของคนอื่นไซร้
ตนเองจะอาจทำอะไรได้เล่า.
บทว่า ปสุตํ ได้แก่ ผู้ซ่านไป อธิบายผู้ข้องแล้วในอารมณ์นั้น ๆ
ด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตในกามคุณทั้งหลาย หรือ
ผู้เว้นจากกุศลภาวนา. กุลบุตรไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงคบ ไม่พึงเข้าไปใกล้
สหายนั้น คือ ผู้เป็นเช่นนั้น โดยที่แท้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉะนั้น ดังนี้แล.
ปาปสหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 24


คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลก่อน ปัจเจกโพธิสัตว์ 8 องค์ บวชแล้วใน
พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจา-
คตวัตรแล้วเกิดในเทวโลก เรื่องทั้งหมดเป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน อนวัชช-
โภชิคาถา
นั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังนี้ :-